เมนู

บทว่า วิปริณาโม ได้แก่ ความเสียหาย. อธิบายว่า พืชเหล่านั้น
ไม่ได้น้ำก็จะเหี่ยวแห้งเสียหายไป จะมีเหลืออยู่ก็แต่ซากเท่านั้น.
บทว่า อนุคฺคทิโต ความว่า ได้รับอนุเคราะห์แล้วด้วยการ
อนุเคราะห์ด้วยอามิส และการอนุเคราะห์ด้วยธรรม.
บทว่า อนุคฺคณฺเทยฺยํ ความว่า เราตถาคตพึงอนุเคราะห์ด้วย
การอนุเคราะห์ด้วยอามิส และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมทั้งสองอย่างนั้น.
เพราะว่า สามเณรและภิกษุหนุ่มผู้บวชใหม่ เมื่อมีความขาดแคลน
ด้วยปัจจัยมีวีจรเป็นต้น หรือเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้น พระศาสดาหรือ
อุปัชฌาย์อาจารย์ยังมิได้อนุเคราะห์ด้วยการอนุเคราะห์ด้วยอามิส
ก็จะลำบาก ไม่สามารถทำการสาธยายหรือใส่ใจ (ถึงธรรมได้)
(เธอเหล่านั้น) อันพระศาสดาหรืออุปัชฌาย์อาจารย์ยังมิได้อนุเคราะห์
ด้วยการอนุเคราะห์ด้วยธรรม ก็จะเสื่อมจากอุเทศและจากโอวาทานุสาสนี
(การแนะนำพร่ำสอน) ไม่สามารถจะหลีกเว้นอกุศลมาเจริญกุศลได้.
แต่ (เธอเหล่านั้น) ได้รับอนุเคราะห์ด้วยการอนุเคราะห์ทั้งสองนี้แล้ว
ก็จะไม่ลำบากกาย ประพฤติในการสาธยายและใส่ใจ (ถึงธรรม)
ปฏิบัติตามที่พระศาสดาหรืออุปัชฌาย์อาจารย์พร่ำสอนอยู่ ต่อมา
แม้ไม่ได้รับการอนุเคราะห์นั้น (แต่) ก็ยังได้กำลัง เพราะการอนุเคราะห์
ครั้งแรกนั้นนั่นแล (จึงทำให้) มั่นคงอยู่ในศาสนาได้ เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเกิดปริวิตกอย่างนี้ขึ้น.

พรหมมาเฝ้าพระพุทธเจ้า


บทว่า ภควโต ปุรโต ปาตุรโหสิ ความว่า ท้าวมหาพรหม
ได้ทราบพระดำริของพระศาสดาแล้วได้ (มา) ปรากฏ เฉพาะพระพักตร์

(พระผู้มีพระภาคเจ้า) ด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับไล่ภิกษุ
เหล่านี้ออกไป บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะทำการ
อนุเคราะห์ภิกษุเหล่านั้นจึงทรงคิดถึงเหตุอย่างนี้ และเราก็จักทำให้
(พระผู้มีพระภาคเจ้า) เกิดพระอุตสาหะนั้น (ต่อไป).
พ่อครัวผู้ฉลาด (ทราบว่า) บรรดาอาหารมีรสเปรี้ยวเป็นต้น
รสอย่างใดถูกพระทัยพระราชา ก็จะปรุงรสอย่างนั้นให้อร่อยขึ้น
ด้วยเครื่องปรุง แล้ววันรุ่งขึ้นก็น้อมนำเข้าไปถวายพระราชา (อีก)
ฉันใด ท้าวมหาพรหมนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะความที่ตนเองเป็น
ผู้ฉลาด จึงได้ทูลสำทับอุปมาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำมาแล้ว
นั่นแลด้วยคำมีอาทิว่า เอวเมตํ ภควา แล้วกล่าวคำนี้ว่า สนฺเตตฺถ ภิกฺขู
เพื่อทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทำการอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภินนฺทตุ ความว่า (ขอพระผู้มี-
พระภาคเจ้า) จงทรงยินดีให้ภิกษุสงฆ์นั้นมาอย่างนี้ว่า ขอภิกษุสงฆ์
จงมาสู่สำนักของเราตถาคตเถิด.
บทว่า อภิวทตุ ความว่า (ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า) จงตรัสสอน
ประทานโอวาทานุสาสนีแก่ภิกษุสงฆ์ผู้มาถึงแล้วเถิด.
พระพุทธเจ้าทรงแสดงฤทธิ์
บทว่า ปฏิสลฺลานา ได้แก่ จากความเป็นผู้เดียว.
บทว่า อิทฺธาภิสํขารํ อภิสงฺขาเรสิ ได้แก่ (พระผู้มีพระภาคเจ้า)
ได้ทรงทำฤทธิ์. บทว่า เอกทฺวีหิกาย ได้แก่ (ภิกษุ) มาทีละรูปบ้าง
ทีละ 2 รูปบ้าง. บทว่า สารชฺชมานรูปา ได้แก่ กลัวเพราะมีความ
เกรงเป็นประมาณ.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงแสดงฤทธิ์
ให้ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าโดยวิธีนั้น ?

ตอบว่า เพราะทรงปรารถนาประโยชน์เกื้อกูล. อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ถ้าภิกษุเหล่านั้นจะพึงมา (เฝ้า)
เป็นกลุ่ม ๆ ไซร้ พวกเธอก็จะพากันเยาะเย้ยถากถางว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงขับไล่ภิกษุแล้วเสด็จเข้าสู่ป่า (แต่) ก็ไม่สามารถจะ
ประทับอยู่ในป่านั้นให้ครบวันได้ จึงเสด็จกลับมาหาภิกษุอีกเหมือนเดิม.
ครานั้นพวกเธอจะไม่พึงตั้งความเคารพในพระพุทธเจ้า (และ) จะไม่พึง
สามารถรับพระธรรมเทศนาได้. แต่เมื่อภิกษุเหล่านั้นมีความกลัว
หวาดหวั่นมาเฝ้าทีละรูปสองรูป ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้าก็จัก
ปรากฏชัด และพวกเธอก็จักสามารถรับพระธรรมเทศนาได้ ดังนี้แล้ว
จึงได้ทรงแสดงฤทธิ์แบบนั้น เพราะทรงปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลแก่
ภิกษุเหล่านั้น.
บทว่า นิสีทึสุ ความว่า เพราะเมื่อภิกษุเหล่านั้นกลัวมา
(เฝ้าพระพุทธเจ้า) ภิกษุแต่ละรูปก็จะคิดว่า พระศาสดาทรงจ้องมองดู
เราเท่านั้น เห็นจะทรงมีพระประสงค์ลงโทษเราเป็นแน่แท้ ดังนี้แล้ว
ค่อย ๆ มาถวายบังคมนั่งลง ครานั้น ภิกษุรูปอื่น ๆ ก็จะ (เป็นทำนอง
เดียวกัน) ภิกษุ 500 รูป พากันมานั่งด้วยอาการอย่างนี้แล.
ฝ่ายพระศาสดาทอดพระเนตรเห็นภิกษุสงฆ์นั่งอยู่อย่างนั้น
ไม่ไหวกาย คล้ายกระแสน้ำในมหาสมุทร (ไหลไปสงบนิ่งอยู่) ใน
ทะเลสีทันดร และเหมือน (เปลว) ประทีปสงบนิ่งอยู่ในที่สงัดลมฉะนั้น
จึงทรงดำริว่า ธรรมเทศนาแบบไหนจึงจะเหมาะแก่ภิกษุเหล่านี้.

ลำดับนั้น พระองค์จงทรงมีพระดำริดังนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้
เราขับไล่เพราะอาหารเป็นเหตุ ธรรมเทศนาเรื่องคำข้าวที่ทำเป็นก้อน
เท่านั้นเป็นสัปปายะแก่ภิกษุเหล่านั้น เราแสดงธรรมเทศนาแล้วจัก
แสดงเทศนามีปริวัฏ 3 (3 รอบ) ในตอนท้ายเวลาจบเทศนา ภิกษุ
ทั้งหมดก็จักบรรลุอรหัตตผล.
ครันแล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมเทศนานั้นแก่ภิกษุเหล่านั้น
จึงตรัสคำว่า อนฺตมิทํ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺตํ ได้แก่ ต่ำช้า คือ เลวทราม.
บทว่า ยทิทํ ปิณโฑลฺยํ ความว่า ความเป็นอยู่ของบุคคล
ผู้เลี้ยงชีวิตด้วยการแสวงหาก้อนข้าวนั้นใด.

ความหมายของคำว่า ปิณโฑลยะ


ก็ในบทว่า ปิณฺโฑลฺยํ นี้มีความหมายเฉพาะบท ดังนี้ :- ภิกษุ
ชื่อว่า ปิณโฑละ เพราะหมายความว่า เที่ยวแสวงหาก้อนข้าว การ
ทำงานของภิกษุผู้เที่ยวแสวงหาก้อนข้าว ชื่อว่า ปิณโฑลยะ อธิบายว่า
ความเป็นอยู่ที่ให้สำเร็จด้วยการแสวงหาก้อนข้าว.
บทว่า อภิสาโป แปลว่า การด่า อธิบายว่า ผู้คนทั้งหลาย
โกรธแล้วย่อมด่าว่า ท่านห่มจีวรที่ไม่เข้ากับตัวแล้วถือกระเบื้องเที่ยว
แสวงหาก้อนข้าว. ก็หรือว่า ย่อมด่าแม้อย่างนี้ทีเดียวว่า ท่านไม่มีอะไร
จะทำหรือ? ท่านขนาดมีกำลังวังชาสมบูรณ์ด้วยวิริยะเห็นปานนี้ ยัง
ละทิ้งหิริโอตตัปปะถือบารตเที่ยวแสวงหาคำข้าวไม่ต่างอะไรกับคนกำพร้า
บทว่า ตญฺจ โข เอตํ ความว่า การเที่ยวแสวงหาก้อนข้าว
ทั้ง ๆ ที่ถูกแช่งด่านั้น.